ไฟฟ้า ( ไม่ธรรมดาที่ธรรมดา )ตอนที่ 2 : การเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ไฟฟ้า ( เรื่องไม่ธรรมดาที่ธรรมดา ) ตอนที่ 2: การเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน
สวัสดีครับผู้มาเยี่ยมชมทุกท่าน...สำหรับในตอนที่2นี้ จะมีเนื่อหาที่เกี่ยวกับการเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า
�
ขั้นตอนการออกแบบขนาดสายไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
ในการเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานนั้นเราจะดูที่ พิกัดการทนกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้าเป็นสำคัญ กล่าวคือถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้ากินกระแสไฟฟ้ามากเราก็ต้องเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าใหญ่ ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้ากินกระแสไฟฟ้าน้อยเราก็ใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กลงมา� โดยดูได้จากตารางแสดงดังนี้
เราจะใช้ตารางด้านบน เลือกขนาดสายไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานแบบง่ายๆ โดยให้ดู 2 ช่องหลักดังแสดงด้วยลูกศรแดงกับน้ำเงินดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น� �สายไฟฟ้าชนิด VAF ขนาด 2.5 sq.mm� จะมีพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าได้ 21 แอมป์ ( A )� หรือ สายไฟฟ้าขนาด 25 sq.mm จะมีพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าได้ 91 A ��จะเห็นได้ว่า ขนาดของสายไฟฟ้ายิ่งมากเท่าไหร่ อัตราพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเราจะต้องเลือกใช้ขนาดของสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับขนาดของโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า
ขั้นตอนง่ายๆในการหาขนาดของสายไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า มีดังนี้
1. ต้องรู้ค่ากระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า �สำหรับค่ากระแสไฟฟ้านั้นหาได้จากแผ่นป้ายที่ติดอยู่ที่โครงอุปกรณ์ไฟฟ้า
จากรูป อุปกรณ์ไฟฟ้าได้แก่เครื่องปรับอากาศ ( รูปซ้ายมือ ) จะเห็นว่าแผ่นป้ายที่บอกข้อมูลทางไฟฟ้าของเจ้าเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ อยู่ด้านข้างของเครื่อง ดังแสดงรูปขวามือ� จะเห็นว่าจากแผ่นป้ายจะบอกไว้ว่าเครื่องปรับอากาศจะกินกระแสไฟฟ้า มีค่า 10.50 แอมป์ ( A� )��
หมายเหตุ ในกรณีที่แผ่นป้ายของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆไม่บอกค่ากระแสไฟฟ้ามา พี่น้องก็ไม่ต้องตกใจเกินเหตุ เพราะมีวิธีคำนวณเพื่อหาค่ากระแสไฟฟ้าด้วยวิธีง่ายๆ คือ นำค่ากำลังไฟฟ้า( หน่วยเป็นวัตต์,w ) หารด้วย ค่าแรงดันไฟฟ้า ( หน่วยเป็นโวลท์ , V )� ถ้าเขียนเป็นสูตรก็จะได้ว่า
������������������������� I� =�� P / U
��������������������
กำหนดให้�� I�� =�� ค่ากระสไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า����� มีหน่วยเป็น�� แอมป์( A� )
���������������P�� =�� ค่ากำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า�����มีหน่วยเป็น�� วัตต์���( W� )
���������������U�� =�� ค่าแรงดันไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งาน�มีหน่วยเป็น�� โวลท์( V )
���������� ถ้าเครื่องปรับอากาศดังรูป ไม่บอกค่ากระแสไฟฟ้ามาให้ เราลองมาคำนวณหาค่ากระแสไฟฟ้าดังนี้
�������� จากแผ่นป้ายจะได้�� �ค่ากำลังไฟฟ้า( P )� = 2330 วัตต์ ( W )� ,� ค่าแรงดันไฟฟ้าในบ้านเรา ( U ) = 220 โวลท์ ( V )
��������� แทนค่าในสูตรด้านบนจะได้
���������������������������������������������������������� I� =�� 2330 W �/� 220 V
������������������������������������������������������������� =�� 10.60 �A
��������������������
จะเห็นว่าค่ากระแสไฟฟ้าที่คำนวณได้จะมีค่าใกล้เคียงกับค่ากระแสไฟฟ้าที่ระบุในแผ่นป้าย
2�. เผื่อค่ากระแสไฟฟ้า อีก 25 %��� โดยทั่วไปวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อทำงานติดต่อกันเกินกว่า 3� ชั่วโมงขึ้นไปประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงเหลือประมาณ 80 % ดังนั้น� สายไฟฟ้าที่เราจะนำมาใช้งานก็เช่นเดียวกัน เมื่อใช้งานติดต่อกันเกินกว่า
3 ชั่วโมงประสิทธิภาพในการทนกระแสก็จะลดลงเหลือประมาณ 80 % เพื่อเป็นการชดเชยประสิทธิภาพในการทนกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้าในส่วนที่หายไป� ก็เลยต้องมีการเผื่อค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มอีก 25 %�ก่อน�� แล้วนำค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้ นำไปหาขนาดสายไฟฟ้าในขั้นตอนต่อไป
��������จากขั้นตอนที่1�������ค่ากระแสไฟฟ้า มีค่า�� 10.55� แอมป์
��( ทำการเผื่ออีก 25 �% )�ค่ากระแสไฟฟ้า มีค่า��� 10.55 X 1.25 ( คิดที่ 125 �%� )
����������������������������������������������
������������������������������������������������������ มีค่า = 13.18 A
3�.นำค่ากระแสไฟฟ้า เปิดตารางหาขนาดสายไฟฟ้า�� เราจะนำค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้ทำการเผื่อไว้แล้ว 25 % หรือพูดอีกแบบหนึ่งก็คือค่ากระแสไฟฟ้าที่ 125 �%� ซึ่งมีค่าเท่ากับ 13.18 A� นำไปเทียบกับตารางพบว่า เราจะต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาด 1.5 sq.mm�( ทนพิกัดกระแสไฟฟ้าได้ 21 A ) มาใช้ในการเดินสายไฟฟ้าให้กับเครื่องปรับอากาศดังรูป ทั้งนี้เนื่องจากสายไฟฟ้า มีอัตราพิกัดการทนกระสไฟฟ้าได้มากกว่าค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลจริงในวงจร จะทำให้สายไฟฟ้าไม่ร้อน และเกิดอุบัติเหตุอัคคีภัยได้
��������� บทสรุป
����������� ในการเลือกขนาดสายไฟฟ้าขนิด VAF ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานนั้น จะมีขั้นตอนในการหาทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้
หวังเป็นอย่างยิ่ง ผู้มาเยี่ยมเยียนคงจะได้ความรู้ในการหาขนาดสายไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานนะครับ อย่างน้อยจะได้มีข้อมูลเอาไว้คุยกับช่างเดินสายไฟฟ้าได้เวลาที่เราต้องการต่อเติมการใช้ไฟฟ้าภายในวิมานนกกระจอกของเรา.......ยังมีอีกนิดนึงคือการเลือกขนาดของอุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้าหรือที่เราคุ้นเคยกันดีว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ ขอเก็บเอาไว้บอกเล่ากันในคราวหน้า นะครับ
�
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ประสิทธิ์�� พิทยพัฒน์� ,� การออกแบบระบบไฟฟ้า
Website ของ �Bangkok� Cable
�
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า....ในการนำสายไฟฟ้ามาใช้ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าเพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆทำงานได้สมความตั้งใจอยากของเจ้าของสตางค์นั้น ไม่ใช่นึกจะนำสายไฟฟ้าขนาดอะไรก็ได้มาต่อใช้งานนะครับ.....อันตรายที่สุดนะครับ!!!!!ติดตามไปเรื่อยๆ...แล้วจะทราบเหตุผลนะครับ